

โรงพยาบาลแม่สอด
สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
ข่าวล่าสุด
สถานการณ์ COVID-19 อ.แม่สอด
ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร รพ.แม่สอด
ITA
ข่าวประชาสัมพันธ์
รับสมัครงาน
บทความ/เกร็ดความรู้
ข่าวกิจกรรม
ประกวดราคา
รับบริจาค
ประชุม / อบรม
งานวิจัย
แผนการใช้เงินบำรุง
เอกสารเผยแพร่
- หน้าแรก
- ประวัติโรงพยาบาลแม่สอด
ประวัติโรงพยาบาลแม่สอด
ประวัติโรงพยาบาลแม่สอด |
โรงพยาบาลแม่สอด ตั้งอยู่เลขที่ 175/16 ถนนศรีพานิช อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก มีพื้นที่ 49 ไร่ 2 งาน |
84 ตารางวา อยู่ห่างจากจังหวัดตาก 87 กิโลเมตร และห่างจากพรมแดนไทย-พม่า 6 กิโลเมตร โดยมีแม่น้ำเมยเป็นแนวกั้น |
พรมแดน โรงพยาบาลแม่สอดได้เริ่ม ทำการก่อสร้างในปี พ.ศ.2500 กรมการแพทย์ได้อนุมัติเงินสำหรับซื้อที่ดินของ |
นายหมื่น อินต๊ะยะ รวมเป็นเนื้อที่ 28 ไร่ ด้วยราคา 140,000 บาท (หนึ่งแสนสี่หมื่นบาทถ้วน) ตามหนังสือของ |
กรมการแพทย์ที่ 5328/2500 ลงวันที่ 27 สิงหาคม 2500 ต่อมาได้ซื้อที่ดิน เพิ่มเติมเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2509 และได้ |
ทำการสำรวจรังวัดใหม่ ทางราชการได้ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่ทางหลวงเลขที่ 6122 มีเนื้อที่ 44 ไร่ 2 งาน 59 ตารางวา |
และเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2523 ได้ซื้อที่ดินเพิ่มด้วยเงินบริจาค ในนามมูลนิธิโรงพยาบาลแม่สอด จำนวน 5 ไร่ |
25 ตารางวา รวมเนื้อที่โรงพยาบาล ในปัจจุบันนี้ 49 ไร่ 2 งาน 84 ตารางวา |
ประวัติการก่อตั้งโรงพยาบาลแม่สอด |
พ.ศ. 2501 เปิดให้บริการโดยมีอาคารบำบัดรักษาเป็นตึกชั้นเดียว รวมหน่วยต่างๆ ได้แก่ ห้องตรวจ ห้องจ่ายยา ห้องผ่าตัด |
หน่วยธุรการและบริหารงานทั่วไปไว้ในตึกหลังเดียวกัน มีหอผู้ป่วยเป็นเรือนไม้ขนาด 25 เตียง 1 หลัง |
รับผู้ป่วยทุกประเภททั้งชาย-หญิงมีแพทย์ประจำโรงพยาบาล 3 คน |
พ.ศ. 2502 เปิดให้บริการผู้ป่วยใน จำนวน 25 เตียง |
พ.ศ. 2504 สร้างอาคารผู้ป่วยเรือนคนไข้ชาย ปรับเพิ่มการให้บริการผู้ป่วยในเป็น 50 เตียง |
พ.ศ. 2509 สร้างอาคาร ผ่าตัด - รังสี ชั้นเดียว ประกอบด้วยห้องผ่าตัด 2 ห้อง ห้องถ่ายภาพรังสีและหน่วยชันสูตรโรค |
พ.ศ. 2511 ก่อสร้างตึกคนไข้พิเศษ 2 ชั้น มีจำนวนห้อง 22 ห้อง โดยงบประมาณจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล |
และเงินบริจาคจากประชาชนชาวอำเภอแม่สอดปรับเพิ่มการให้บริการผู้ป่วยในเป็น 97 เตียง |
พ.ศ. 2512 ก่อสร้างตึกสูติ - นรีเวชกรรม ขนาด 30 เตียง จากเงินงบประมาณ ปรับเพิ่มการให้บริการผู้ป่วยในเป็น |
127 เตียง |
พ.ศ. 2518 ก่อสร้างตึกอำนวยการ และอาคารตรวจโรคผู้ป่วยนอก จากเงินงบประมาณ |
พ.ศ. 2522 เปิดตึก ไอ.ซี.ยู "ประจักษ์ - สงวนศรี พงษ์เรขนานนท์" ขนาด 8 เตียง สร้างด้วยเงินบริจาคเปิดตึก |
ผู้ป่วยศัลยกรรม - กุมารเวชกรรม ขนาด 60 เตียง สร้างด้วยเงินงบประมาณและเงินบริจาคสมทบ |
ปรับเพิ่มการให้บริการผู้ป่วยในเป็น 187 เตียง |
พ.ศ. 2525 เปิดตึกผู้ป่วย "อนุสรณ์ 200 ปี รัตนโกสินทร์" ขนาด 60 เตียง สร้างด้วยเงินงบประมาณ และเงินบริจาค |
ปรับเพิ่มการให้บริการผู้ป่วยในเป็น 247 เตียง |
พ.ศ. 2527 ก่อสร้างตึกสงฆ์อาพาธ ขนาด 10 ห้องพิเศษ และมีห้องประชุม และห้องโถงอเนกประสงค์ ด้วยเงินงบประมาณ |
และเงินบริจาคสมทบปรับเพิ่มการให้บริการผู้ป่วยในเป็น 253 เตียง |
พ.ศ. 2529 ก่อสร้างทางลาดเชื่อม 2 ชั้น สำหรับตึกศัลยกรรม กุมารเวชกรรม กับตึกอนุสรณ์ 200 ปี รัตนโกสินทร์ |
ด้วยเงินบริจาค |
พ.ศ. 2534 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารศัลยกรรมอุบัติเหตุ |
สร้างด้วยเงินงบประมาณและเงินสมทบจากประชาชน |
พ.ศ. 2535 ก่อสร้าง "ตึกกุมารเวชกรรม" ขนาด 60 เตียง ด้วยเงินงบประมาณ |
พ.ศ. 2536 ปรับเพิ่มการให้บริการผู้ป่วยในเป็น 280 เตียง |
พ.ศ. 2540 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารเฉลิมพระเกียรติ |
เพื่อร่วมฉลองในปีกาญจนาภิเษกด้วยเงินงบประมาณ เป็นอาคารสูติกรรมและไอ.ซี.ยู.ผู้ใหญ่ปรับเพิ่ม |
การให้บริการผู้ป่วยในเป็น 310 เตียง |
พ.ศ. 2543 ปรับปรุงตึกไอซียู "ประจักษ์ - สงวนศรี พงษ์เรขนานนท์" เป็นไอ.ซี.ยู. กุมารเวชกรรม และหน่วยบริบาล |
ทารกแรกเกิด |
พ.ศ. 2544 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ |
พระชนมพรรษา ซึ่งประกอบด้วยแผนกรังสีวิทยา ทันตกรรม เวชศาสตร์ฟื้นฟู ห้องสมุด ฝ่ายบริหาร การเงิน |
ฝ่ายเวชกรรมสังคม ฝ่ายชันสูตร ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายการพยาบาล ฝ่ายแผนงานและสารสนเทศ และห้องประชุม |
ขนาดใหญ่จากเงินงบประมาณ |
พ.ศ. 2545 เปิดให้บริการอาคารโรงพักศพ |
พ.ศ. 2546 ปรับเพิ่มการให้บริการผู้ป่วยในเป็น 317 เตียง |
พ.ศ. 2554 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ |
พระชนมพรรษาเป็นอาคารให้บริการผู้ป่วยใน ศูนย์การให้บริการผู้ป่วยโรคไต สร้างจากเงินงบประมาณ |
และได้รับการสนับสนุนครุภัณฑ์ทางการแพทย์เงินบริจาคจากประชาชนทั่วไป ปรับเพิ่มการให้บริการผู้ป่วยใน |
เป็น 420 เตียง |
พ.ศ. 2558 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารเฉลิมพระเกียรติ |
เป็นอาคารให้บริการอาคารผ่าตัด ผู้ป่วยนอกและอุบัติเหตุ สร้างจากเงินงบประมาณ และได้รับการสนับสนุน |
ครุภัณฑ์ทางการแพทย์จากเงินบริจาคจากประชาชนทั่วไป |
พ.ศ 2562 เปิดให้บริการอาคารผู้ป่วยนอก 8 ชั้น |
รายนามผู้อำนวยการ |
1. นายแพทย์ ปราเมศ ชัยจินดา 14 เมษายน 2502 – 1 กุมภาพันธ์ 2512 |
2. นายแพทย์รัตน์ ปาลิวนิช 1 กุมภาพันธ์ 2512 – 24 สิงหาคม 2516 |
3. นายแพทย์ปราโมทย์ คชรัตน์ 26 สิงหาคม 2516 – 2 ธันวาคม 2519 |
4. นายแพทย์โกมล สายชุ่มอินทร์ 20 มกราคม 2520 – 22 กรกฎาคม 2526 |
5. นายแพทย์ถาวร กาสมสัน 22 กรกฎาคม 2526 – 8 กุมภาพันธ์ 2536 |
6. แพทย์หญิงกนกนาถ พิศุทธกุล 8 กุมภาพันธ์ 2536 – 30 กันยายน 2553 |
7. นายแพทย์รณไตร เรืองวีรยุทธ 1 ตุลาคม 2553 – 30 กันยายน 2556 |
8. นายแพทย์ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ 1 ตุลาคม 2556 – 6ตุลาคม 2557 |
9. นายแพทย์จรัล วิวัฒน์คุณูปการ 7 ตุลาคม 2557 – 20 ตุลาคม 2558 |
10. นายแพทย์สุชาติ พรเจริญพงศ์ 21 ตุลาคม 2558 – 19 ตุลาคม 2560 |
11. นายแพทย์ธวัชชัย เศรษฐศุภพนา 20 ตุลาคม 2560 – ปัจจุบัน |
ขอบเขตการให้บริการ |
โรงพยาบาลแม่สอดให้บริการสาธารณสุขครบทุกด้าน ครอบคลุมประชากร 5 อำเภอฟากตะวันตกของจังหวัดตาก |
โรงพยาบาลแม่ข่ายตาก/2 และเนื่องจากเป็นอำเภอชายแดนดังนั้นจึงต้องให้บริการสาธารณสุขแก่ชาวต่างชาติที่เข้ามาในพื้นที่ |
ทั้งโดยถูกต้องตามกฎหมายและผู้ลักลอบหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย พร้อมทั้งเป็นเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ |
คลินิกหมอครอบครัว โรงพยาบาลแม่สอด รับผิดชอบดูแลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเครือข่าย ทั้งหมดในอำเภอ |
แม่สอด 22 แห่ง และให้บริการรับการส่งต่อจากรพ.ชุมชนทั้งหมด 4 แห่งได้แก่ อำเภอพบพระ อำเภออุ้มผาง อำเภอ |
แม่ระมาด และอำเภอท่าสองยาง |